ก่อนที่จะระบุได้ว่าลูกมีปัญหาด้านการเจริญเติบโตหรือไม่ คุณต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กแต่ละวัยมีการเจริญเติบโตแบบมาตรฐานที่ต่างกัน
มีข้อแนะนำหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า “กฎของเลข 5” พูดถึงอัตราการเจริญเติบโตตามปกติของเด็กดังนี้
• ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ เด็กจะสูงประมาณ 25 ซม.
• ระหว่างอายุ 1 ถึง 4 ขวบ เด็กจะเติบโตประมาณ 10 ซม.ต่อปี
• ช่วงอายุ 4 ขวบจนถึงวัยหนุ่มสาว อัตราการเจริญเติบโตจะช้าลง เหลือประมาณ 5 ซม.ต่อปี
ประมาณร้อยละ 80 ของการเจริญเติบโตในเด็ก จะเกิดขึ้นก่อนเข้าวัยหนุ่มสาว และในช่วงวัยหนุ่มสาวนั้นจะมีระยะเวลาหนึ่งซึ่งเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนอาจมีความสูงเท่ากับตอนโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กผู้หญิงทั่วไปจะเริ่มโตเป็นสาวเมื่ออายุประมาณ 11 ปี สำหรับเด็กผู้ชายส่วนใหญ่จะเริ่มแตกหนุ่มเมื่ออายุประมาณ 13 ปี
การเจริญเติบโตของทารก (อายุ 0-1 ขวบ)
ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสังเกตการเจริญเติบโตของลูก
เพื่อจะได้ทราบปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตในเด็กทารก
การเจริญเติบโตของเด็กวัยหัดเดิน (อายุ 1-4 ขวบ)
ในช่วงนี้ลูกน้อยของคุณเติบโตขึ้นเร็วมากจนกลายร่างเป็นเด็กวัยหัดเดิน
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็กวัยหัดเดิน
การเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (อายุ 4-10 ปี)
ช่วงวัยนี้ลูกอาจจะเริ่มไปโรงเรียนแล้ว และคุณก็อาจจะเริ่มสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่างที่ชื้ว่าลูกคุณเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย
การเจริญเติบโตของเด็กวัยรุ่น (อายุ 10-16 ปี)
วัยแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาวเป็นช่วงเวลาที่เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และหากมีความผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโต ก็จะปรากฏชัดขึ้นในช่วงนี้
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเด็กวัยรุ่น
เตรียมตัวปรึกษาแพทย์
หากคุณกังวลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของลูก อย่าลังเลที่จะปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อให้ลูกเข้ารับการประเมินที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับการตรวจเพิ่มเติมในกรณีจำเป็น รวมถึงอาจได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้วย ทั้งนี้เราสามารถช่วยคุณวางแผนการขอรับคำปรึกษาได้