คำแนะนำสำหรับช่วงปฐมวัย

ผู้ปกครองที่มีลูกวัยทารกหรือวัยหัดเดินเจริญเติบโตผิดปกติ

บทนำ

ช่วง 2 – 3 เดือนแรกของการมีลูกน้อยในอ้อมอกอาจดูเลือนลางในความทรงจำเพราะมัวแต่วุ่นอยู่กับการพาลูกไปตรวจสุขภาพ รับวัคซีน อดนอนและทดลองทำอะไรใหม่ ๆ เป็นครั้งแรกมากมายหลายอย่าง
หากคุณเพิ่งรู้เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าลูกน้อยมีการเจริญเติบโตผิดปกติ คุณอาจกังวลว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ชีวิตของลูกจะเป็นอย่างไร คุณจะจัดการกับปัญหาอย่างไร ถึงแม้ว่าจะไม่มีคำตอบ ง่าย ๆ สำหรับคำถามเหล่านี้ แต่สิ่งสำคัญคือคุณมิได้เผชิญปัญหาเหล่านี้อยู่เพียงคนเดียวและพอมีหนทางที่จะเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตข้างหน้า

ขั้นตอนหลังการวินิจฉัย

คุณอาจจะรู้สึกสับสน วิตกกังวล คับข้องใจและลังเลไม่แน่ไม่นอน คุณอาจจะมีอารมณ์ผสมปนเปเมื่อรู้ว่าลูกวัยทารกหรือวัยหัดเดินของคุณมีปัญหาการเจริญเติบโตผิดปกติ การยอมรับ สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นเรื่องยาก แต่การยอมรับจะเป็นขั้นตอนแรกของการปรับตัว เส้นทางใหม่ในชีวิตของคุณกำลังจะเริ่มขึ้น

ความเห็นของเทรซี่

“ตอนที่พวกเขาบอกว่าลูกสาวของฉันมีปัญหาสุขภาพที่จะกระทบต่อการเจริญเติบโตของเธอและเป็นโรคที่หายาก ฉันงงไปหมด”.

แล้วก็เริ่มตระหนกตกใจ คิดไปเองว่าลูกคงจะไม่ได้ไปโรงเรียน ไม่ได้มีแฟนและไม่ได้แต่งงาน”

ชีวิตของผู้ปกครองแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนอาจเผชิญความท้าทายมากกว่าคนอื่น.

  • การบอกเล่าแบ่งปันความรู้สึกของคุณกับผู้อื่นจะช่วยให้คุณจัดการกับความรู้สึกแง่ลบได้ดีขึ้น บางครั้ง คุณจะได้รับแรงสนับสนุนที่สำคัญที่สุดจากการคุยกับผู้ปกครองที่ลูกมีปัญหาแบบเดียวกัน
  • ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการผิดปกติของลูก คุยกับผู้ปกครองคนอื่นเพื่อรับฟังแนวทางที่เป็นประโยชน์ ถามแพทย์ว่าควรหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหนบ้าง รวมถึงติดต่อหาองค์กรการกุศลที่เกี่ยวข้อง
  • อย่าไปหวังว่าคุณจะต้องบรรลุเป้าหมายใหญ่ ให้มุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มีคนทำได้กันแล้ว
  • ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน สนุกกับวันดี ๆ ฉลองกับความหรรษาแม้แต่ในเรื่องเล็ก ๆ
  • ใช้ชีวิตไปทีละวัน พยายามอย่าไปกังวลกับอนาคตจนเกินไป
  • คอยดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ อาบน้ำ เดินเล่นหรือทักทายพูดคุยกับเพื่อน
  • สื่อสาร บอกให้คู่ครองรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร เพราะสุขภาพใจหรือสุขภาพจิตของคุณเป็นเรื่องสำคัญมาก.

ความคิดเห็นของเอ็มม่า

“ฉันคิดว่าพวกเราใกล้ชิดกันกว่าแต่ก่อน เราผ่านเรื่องราวบางอย่างมาด้วยกัน เรื่องที่คนอื่นไม่เข้าใจ แต่เราเข้าใจกัน เราพึ่งพากันและเห็นคุณค่าของอีกฝ่ายมากขึ้นกว่าที่เคย แม้เราจะเครียด เหนื่อย กังวล แต่เราก็คอยสนับสนุนซึ่งกันและกัน”

จงจำไว้ว่าคุณไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่เจอปัญหานี้ มีอีกหลายครอบครัวที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน นอกจากนี้แล้ว จำนวนกลุ่มผู้ป่วยและองค์กรที่คอยให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนยังมีเพิ่มมากขึ้นด้วยแนวร่วมระหว่างประเทศขององค์กรที่สนับสนุนผู้ป่วยต่อมไร้ท่อ ‘หรือ ‘ICOSEP’ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนต่างๆ หาข้อมูลเพิ่มเติม: https://icosep.org/country-resources/

โปรดทราบว่าเรามิได้เป็นผู้รับผิดชอบเนื้อหาของเว็บไซต์อื่น

เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าศูนย์ รับเลี้ยงเด็กเล็กหรืออนุบาล

คุณอาจจะหวั่นใจเมื่อนึกภาพว่าลูกต้องไปศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็กหรืออนุบาล แต่คุณสามารถช่วยเตรียมความพร้อมให้ลูกได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ศูนย์รับเลี้ยงเด็กเล็กและอนุบาลจะทำการตรวจสอบอย่างเข้มข้นก่อนรับเด็ก การตรวจสอบนี้จะถามหลายอย่างตั้งแต่เรื่องสุขภาพเรื่อยไปจนถึงเรื่องของเล่นชิ้นโปรด ในระหว่างกระบวนการนี้ คุณควรแจ้งไปเลยว่าคุณมีข้อกังวลใดบ้าง อย่าไปกลัวที่จะต้องเล่ารายละเอียด
  • ก่อนที่ลูกจะเริ่มเข้าเรียนอนุบาล คุณควรขอให้มีการประเมินผลการเรียนรู้แยกต่างหากสำหรับลูก เพื่อส่งเสริมให้มีการสื่อสารระหว่างบ้านและโรงเรียน รวมถึงชี้แนวให้ครูเห็นว่า ควรจะสอนและประเมินผลในทิศทางไหน คุณสามารถติดต่อหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้ได้
  • หากคุณกังวลว่าลูกต้องไปโรงเรียนและห่วงว่าลูกจะไปถูกรังแก คุณอาจจะสอบถามเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านการรังแกและปรัชญาการเรียนการสอนที่ครอบคลุมของทางอนุบาลหรือโรงเรียนก่อน ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้คุณเลือกสถานศึกษาที่ดีที่สุดสำหรับลูก

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเจริญเติบโตตามวัย

หากต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโตเฉพาะช่วงวัยที่คุณสนใจ คุณสามารถเข้าไปดูหน้าการเจริญเติบโตตามวัยได้